การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 25 และเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2556 โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบัญชีรายชื่อในวันที่ 23-27 ธันวาคม 2556 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 - 1 มกราคม 2557 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. และกำหนดให้เลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกต่อต้านโดยคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(กปปส.) เนื่องจากเห็นว่าต้องการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง และได้มีการขัดขวางหน่วยเลือกตั้งในบางท้องที่ของกรุงเทพมหานครและภาคใต้จนไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่
2 กุมภาพันธ์ได้และจะจัดให้มีการเลือกตั้งชดเชยในเขตที่เลือกตั้งไม่ได้ นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ภุชงค์
นุตราวงศ์
เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศแบบไม่เป็นทางการในวันที่
2 กุมภาพันธ์คิดเป็นร้อยละ 45.84
รายชื่อ 30 หมายเลขพรรคการเมือง ในการเลือกตั้ง 2557
การนับคะแนนผลการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 หลังบรรยากาศการเลือกตั้งตลอดทั้งวันเต็มไปด้วยสถานการณ์ต่างๆ ในหลายจุด เกิดปัญหาตามหน่วยเลือกตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้ ซึ่งผลคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากยังพบปัญหาในการเเลือกตั้ง รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงข่าวเปิดเผยจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ใน 68 จังหวัด ไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ที่มีปัญหา คือ กระบี่ ชุมพร ตรัง พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา สุราษฎร์ธานี และบางเขตของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดระยอง ที่ไม่มีการเลือกตั้ง อีกทั้งไม่ได้นำไปรวมกับการเลือกตั้งล่วงหน้า และการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ซึ่งมีสติถิดังต่อไปนี้
แบบแบ่งเขตอย่างเป็นทางการ มีคนมาใช้สิทธิ์ 47.72% โหวตโนพุ่ง 16.69% เชียงใหม่แชมป์ออกมาเลือกตั้งมากสุด 75.05% ขณะที่ กทม. มีคนออกมาเลือกตั้งแค่ 25.94%


มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,530,359 คนคิดเป็น 47.72%

บัตรดี จำนวน 14,645,812 ใบ คิดเป็น 71.34%

บัตรเสีย จำนวน 2,458,461 ใบ คิดเป็น 11.97%

โหวตโน หรือผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 3,426,080 ใบ คิดเป็น 16.69%
ผลการเลือกตั้ง 2557 กรุงเทพมหานคร (ไม่เป็นทางการ)
ทั้งนี้สำนักงานเขตที่ไม่มีปัญหาในการใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 35 เขต และมีสำนักเขตที่ไม่สามารถเปิดหน่วยเลือกตั้งได้ทั้งเขตรวม 3 เขต คือ หลักสี่ ดินแดง และราชเทวี ส่วนอีก 12 เขต ปิดหน่วยเลือกตั้งบางแห่ง ได้แก่ ปทุมวัน บางรัก วัฒนา พญาไท ห้วยขวาง บางเขน บึงกุ่ม สวนหลวง จอมทอง บางขุนเทียน บางกะปิ และบางแค
ผลการเลือกตั้งหน่วย 4 เขตห้วยขวาง ผู้มีสิทธิ 1,063 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 229 คน โดยพรรคเพื่อไทยคะแนนนำอันดับ 1
- ผลการเลือกตั้งหน่วย 4 เขตห้วยขวาง ผู้มีสิทธิ 1,063 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 229 คน โดยพรรคเพื่อไทยคะแนนนำอันดับ 1
- ผลไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 12 แขวงบางแวก ภาษีเจริญ คะแนนแบบบัญชีรายชื่ออันดับ 1 คือเพื่อไทย 124 คะแนน โหวต Vote No 42 คะแนน
ภาคเหนือ (ไม่เป็นทางการ)
- เพชรบูรณ์ ปรากฏว่า ผู้สมัคร ส.ส.เพชรบูรณ์ จากพรรคเพื่อไทย ต่างมีคะแนนนำทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง ส่วนการนับคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นำโด่ง พรรคอื่นเพียงพรรคพรรคเดียว แต่ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งส่วนหนึ่ง จำนวนบัตรเสีย เมื่อรวมกับผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน มีความใกล้เคียงกับบัตรลงคะแนนให้แก่ ส.ส.แบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากพรรคเพื่อไทย
- พะเยา
- แพร่
- เชียงใหม่
- หน่วยเลือกตั้งใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เขต 2 ผู้มีสิทธิ 65,424 คน ใช้สิทธิ 46,877คน คิดเป็น 71.65%
- ผลเลือกตั้งจากบ้านแม่ร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 798 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 366 คิดเป็นร้อยละ 45.86
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ไม่เป็นทางการ)
ขอนแก่นเขตเลือกตั้งที่ 75 ชุมชนทุ่งเศรษฐี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 789 คน ใช้สิทธิเลือกตั้ง 270 คน โหวต VoteNO 99
นครราชสีมา
ผลการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.นครราชสีมา อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย ได้ 10 คน, พรรคชาติพัฒนา 4 คน และพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 1 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 : น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคชาติพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคชาติพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ 3 : นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคชาติพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ 4 : นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 5 : นายโกศล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 6 : นายสุชาติ ภิญโญ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 7 : นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 8 : นางทัศนียา รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 9 : นายพลพีร์ สุวรรณฉวี พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 10 : นายกฤษฎิ์หิรัญ หวังศุภกิจโกศล พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 11 : นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล พรรคชาติไทยพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ 12 : นายสมศักดิ์ พันธุ์เกษม พรรคชาติพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ 13 : นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 14 : นายประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 15 : นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคเพื่อไทย
![]() |
ภาคกลาง ( ไม่เป็นทางการ )
ปทุมธานี
สรุปผลคะแนนเลือกปทุมธานีอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย กวาดเก้าอี้แบบยกจังหวัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 : นายศุภชัย นพขำ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 3 : นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 4 : นางสาวพรพิมล ธรรมสาร พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 5 : นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 6 : นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ พรรคเพื่อไทย
ปราจีนบุรี
ผลการนับคะแนนที่จากทั้ง 3 เขตการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นส่วนใหญ่
ขณะที่ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ร.ร.เจียหมิน อ.กบินทร์บุรี ของเขต 3 ปราจีนบุรี ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 525 คน มาใช้สิทธิ 118 คน VoteNO 40 คน ผลคะแนนหน่วยที่ 1 คงกช หงษ์วิไล จากพรรคเพื่อไทย ได้ 50 คะแนน ส่วนเพชรรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย ได้ 15 คะแนน
พระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเขตเลือกตั้ง 5 เขต มีหน่วยเลือกตั้ง 956 หน่วย สรุปผู้มาใช้สิทธิ รวม 317,398 คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ50.52 แบ่งเป็นเขตดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 : มีผู้มีสิทธิ 104,504 คน มาใช้สิทธิ 41,178 คน
เขตเลือกตั้งที่ 3 : ผู้มีสิทธิ 112,849 คน มาใช้สิทธิ 56,079 คน
เขตเลือกตั้งที่ 4 : ผู้ใช้สิทธิ 104,730 คน มาใช้สิทธิ 80,463 คน
เขตเลือกตั้งที่ 5 : ผู้มีสิทธิ 127,751 คน มาใช้สิทธิ 68,500 คน
อ่างทอง
พรรคชาติไทยพัฒนา กวาดเก้าอี้ ส.ส.อ่างทอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 : นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
ราชบุรี
หน่วยเลือกตั้งที่ 2 ปะรำศาลเจ้าพ่อปู่สงวน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี นับคะแนนเสร็จ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 331 คน จาก 888 คน ผลคะแนนปรากฏว่าผู้สมัครเพื่อไทย ได้ 109 คะแนน พรรคภูมิใจไทย นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา ได้ 39 คะแนน โดยบัตรเสีย 62 และโหวต VoteNO 121
ภาคใต้ ( ไม่เป็นทางการ )
นราธิวาส
ผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส ไม่ประสงค์ลงคะแนน 59 คน บัตรเสีย 25 ใบ รวมผู้มาใช้สิทธิ 268 คน โดยผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 อันดับ 1 นายแวมาหาดี แวดาโอ๊ะ พรรคภูมิใจไทย ได้ 97 คะแนน อันดับ 2 นายวัชระ ยาวอฮาซัน พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 82 คะแนนปัตตานี
หน่วยเลือกตั้งที่ 16 รูสะมิเเล จ.ปัตตานี นับคะเเนนเสร็จสิ้นเเล้ว มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 91 คน จาก 863 คน ผลการนับคะแนน นายมุขสุไลมาน จากพรรคเพื่อไทย ได้ 21 คะเเนน โหวต #VoteNO 53 และมีบัตรเสีย 11
ส่วนจังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนองสงขลา สุราษฎร์ธานี ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้
นายภุชงค์ ยังกล่าวด้วยว่า ข้อมูลดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขจากข่าวที่ออกมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์เล็กน้อย ซึ่งการแถลงข่าวครั้งนี้เป็นตัวเลขที่เป็นทางการแล้ว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า สถิติดังกล่าวหากเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 จะพบว่า ปีนี้มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนสูงกว่า โดยเมื่อปี 2554 มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เพียง 2.72% ขณะที่ปี 2557 มีถึง 16.69% ส่วนบัตรเสีย เมื่อปี 2554 มี 4.90% แต่ปี 2557 มีบัตรเสีย 11.97%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น